การทดสอบเครื่องสำอาง ป้องกันอันตรายได้หลายรูปแบบ บางครั้งอาจเกิดจากการที่ผู้ใช้นั้นเผลอตัว เช่น การขยี้ตา ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องสำอาง เข้าตาได้ เพราะบริเวณ ดวงตา เป็นจุดที่บอบบาง และเป็นอันตรายได้ง่าย ดังนั้นผู้ใช้นอกจากต้องระวัง ของปลอมแล้ว ยังต้องใช้อย่างระมัดระวังอีกด้วย เมื่อมีการทดสอบก็จะมีคำแนะนำการใช้อย่างปลอดภัย มีคำเตือนสำหรับข้อควรระวัง และมีคำรับรองจากสถาบันการทดสอบต่างๆ ให้ผู้ใช้ได้มั่นใจอีกด้วย ไปดูการทดสอบเพื่อประเมินความปลอดภัย (Safety test)
การทดสอบเครื่องสำอาง
การทดสอบเครื่องสำอาง จะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คอยกำกับควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยในการทดสอบ มีการควบคุม และศึกษาวิธีการวิจัยเป็นอย่างดี การจัดระบบ วางแผนก่อนการทำงาน ความเชี่ยวชาญ ของผู้วิจัย และความร่วมมือของผู้ที่มาเป็น อาสาสมัคร ในการวิจัยในแต่ละครั้ง สถาบันทดสอบเครื่องสำอาง มีอยู่มากมายทั่วโลก ในประเทศไทยนั้น บริษัท เดิร์มสแกน เอเชีย จำกัด ได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิต และเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางอีกมากมาย ในเรื่องการทดสอบเครื่องสำอางจึงมั่นใจได้ว่าผลการทดสอบเครื่องสำอาง นั้นสามารถเชื่อถือได้ตามมาตรฐาน ISO 9001 2015 ไปดูข้อมูลของ ISO 9001 2015 ที่ SGS
การทดสอบเครื่องสำอางมีกี่ประเภท?
การทดสอบเครื่องสำอาง ของเรามีหลายวิธีด้วยกัน แต่แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ
1.การทดสอบด้านความปลอดภัย (Safety tests)
2.การทดสอบด้านประสิทธิภาพ (Efficacy tests)
3.การทดสอบการประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง(Solar test)
การทดสอบเครื่องสำอางด้านความปลอดภัยโดยแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบการทดสอบที่แตกต่างออกไปดังนี้
ทดสอบเครื่องสำอาง ด้านความปลอดภัย มี 3 รูปแบบ
1) การทดสอบอาการระคายเคืองบนผิวหนัง เพื่อประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (single patchtest)
2) การประเมินแนวโน้มของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ต่อผู้บริโภค (HIRPT)
3) การประเมินแนวโน้ม ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่อาจให้ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้บริโภค (Use test)
ทดสอบด้านประสิทธิภาพ
รูปแบบทดสอบเครื่องสำอาง ด้านประสิทธิภาพของเรา
- Whitening
การทดสอบเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของสีผิว
- Depigmentation
การทดสอบเพื่อวัดการลดเลือนของจุดด่างดำ
- Brightening
ทดสอบความกระจ่างใสของผิว
- Anti-wrinkles
การทดสอบเพื่อวัดการลดเลือน ริ้วรอย
- Firming
การทดสอบเพื่อวัดความกระชับของผิว
- Moisturizing
การทดสอบเพื่อวัดความชุ่มชื้นผิว
- Smoothing
การทดสอบเพื่อวัดความเรียบเนียนผิว
- Non-comedogenic /Non-acnegenic
การทดสอบการไม่ก่อให้เกิดสิวของผลิตภัณฑ์
- Scar Improvement
การทดสอบเพื่อวัดการลดเลือนรอยแผลเป็น
- Non-drying/ Transepidermal water loss (TEWL)
การทดสอบเพื่อวัดการระเหยน้ำจากผิว
- Sebum-control
การทดสอบเพื่อวัดการควบคุมความมัน
- Deep cleansing
การทดสอบเพื่อวัดสิ่งสกปรกบนผิว
การทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดด ของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพื่อยืนยันผลว่าเครื่องสำอางกันแดดนั้น สามารถปกป้องผิวหนังหรือส่วนของร่างกายจากรังสีอัลตร้าไวโอเลตได้ รวมไปถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผิวหนังได้
การทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดของเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด สามารถทดสอบได้ 2 วิธี ได้แก่ การทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดในกลุ่มอาสาสมัคร และการทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดในหลอดทดลอง (In vitro) โดยการทดสอบแบบ (In vivo) เป็นการทดสอบด้วยเครื่อง Solar simulator ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีกลไกเสมือนว่าเป็นแสงจากดวงอาทิตย์ และทำการทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครเปรียบเสมือนการใช้ผลิตภัณฑ์จริง ตามมาตรฐาน International Organization for Standardization (ISO) เป็นมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ จึงทำให้ผลการทดสอบที่ได้มีความน่าเชื่อถือและแม่นยำมากกว่า
การทดสอบเครื่องสำอางแบบ In vitro
Ultraviolet A Protection Factor (UVAPF)
ความสามารถของเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการให้ผิวหนังดำคล้ำ และทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ผิว เป็นสาเหตุให้เกิดจุดด่างดำ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร
การทดสอบความสามารถของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการป้องกันรังสี UVA จากแสงแดด จะดำเนินงานวิจัยตามมาตรฐาน ISO 24442:2011 โดยการทาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดด ลงบนแผ่นหลังอาสาสมัคร และฉายแสงด้วยเครื่อง Solar simulator จากนั้นประเมินผลการทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดจากการเกิดรอยดำบนผิวหนัง เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีจากแสงแดดได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ โดยหลังจากที่ทำการทดสอบจะใช้คำรับรองตามมาตรฐานสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่น (JCIA) โดยค่าที่ได้คำรับรองเป็น Protection grade of UVA หรือ PA ซึ่งสามารถแสดงประสิทธิภาพได้ดังนี้ PA+, PA++, PA+++, PA++++
Sun Protection Factor (SPF)
ความสามารถของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการปกป้องผิวหนังจากการสัมผัสรังสี UV ที่เป็นสาเหตุให้เกิดผิวหนังไหม้แดง แสบผิว หมองคล้ำและเกิดฝ้ากระ
การทดสอบความสามารถของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการปกป้องผิวหนังจากการสัมผัสรังสี UV จะดำเนินงานวิจัยตามมาตรฐาน ISO 24444:2010 โดยการทาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดลงบนแผ่นหลังอาสาสมัครและฉายแสงด้วยเครื่อง Solar simulator จากนั้นประเมินผลการทดสอบความสามารถในการป้องกันแสงแดดจากการเกิดรอยแดงบนผิวหนัง เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV จากแสงแดดได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ โดยหลังจากที่ทำการทดสอบจะได้คำรับรองตามค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UV ของเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดดเป็นค่าตั้งแต่ SPF6 จนถึง SPF50+ ตามค่าจริงที่ได้จากการวิจัย
Water Resistance
ความสามารถของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการปกป้องผิวหนังจากการสัมผัสรังสี UV หลังการทำกิจกรรมที่สัมผัสน้ำ โดยระดับของประสิทธิภาพการกันน้ำของเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดดจะแบ่งเป็น 2 ระดับ
– Water Resistance คือ ระดับการกันน้ำของเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด หลังจากทาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นแล้ว และอยู่ในน้ำรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 40 นาที
– Very Water Resistance คือ ระดับการกันน้ำของเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด หลังจากทาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นแล้ว และอยู่ในน้ำรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 80 นาที
การทดสอบความสามารถ ของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดในการปกป้องผิวหนังจากการสัมผัสรังสี UV หลังจากการทำกิจกรรมที่สัมผัสน้ำ ดำเนินการทดสอบตามมาตรฐาน ISO 24444:2010, Colipa โดยทาเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด บนแผ่นหลังอาสาสมัคร และแช่น้ำในอ่างที่มีการจำลองคลื่นใต้น้ำ และควบคุมอุณหภูมิ จากนั้นฉายแสงด้วยเครื่อง Solar simulator แล้วประเมินผลการทดสอบการเกิดรอยแดงบนผิวหนัง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ผลิต และผู้บริโภคว่า เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดนั้น มีคุณสมบัติในการกันแดด หลังจากการทำกิจกรรมสัมผัสน้ำ
การติดต่อส่งผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ
ส่งรายละเอียดผลิตภัณฑ์มาที่ marketing@dermscanasia.com
ผลิตภัณฑ์คืออะไร หรือเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทไหน……….. (เช่น ครีมบำรุงผิวหน้า)
ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อยู่ในหมวดไหน ……….. (เช่น เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ยา)
วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ ……….. (เช่น ใช้ทาบนใบหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน)
จุดประสงค์หรือประสิทธิภาพที่ต้องการทดสอบ ……….. (เช่น ทดสอบความชุ่มชื้น)
ชื่อ-ที่อยู่ ภาษาอังกฤษ เบอร์โทรศัพท์ และ Email
เจ้าหน้าที่จะติดต่อให้ข้อมูลกลับทาง Email เพื่อให้ข้อมูลการทดสอบ เสนอราคา และเซ็นสัญญา การติดต่อทุกขั้นจะผ่านทาง Email เป็นหลัก หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง 02-9374377
Contact us for service : Here!!!
เกี่ยวกับศูนย์ทดสอบเครื่องสำอาง คลิ๊ก